บุนราคุ ละครหุ่นเชิดแรงบรรดาลใจการสร้างแขนหุ่นยนต์ ใส่-ถอดเปลี่ยนได้ อุปกรณ์นี้มีชื่อว่า “จิไซอาร์มส” ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า แขนที่เป็นอิสระ ประกอบด้วยตัวฐานที่สวมใส่ได้ และช่องสำหรับใส่แขนได้สูงสุด 6 แขน ซึ่งสามารถออกแบบให้มีรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น แขนที่มีมือเหมือนคน หรือแขนที่เป็นมือคีบสามขา โดยในอนาคต อาจติดอะไหล่อื่นๆ เช่น ปีก หรือโดรนก็ได้

บุนราคุ แรงบรรดาลใจสร้าง จิไซอาร์มส

นักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียวประดิษฐ์แขนหุ่นยนต์สวมใส่ได้ วาดภาพอนาคตที่มนุษย์ผนวกกับจักรกลมีหลายแขนไว้ใช้งาน

ภาพของนักเต้นที่ทำการแสดงด้วยแขนหุ่นยนต์สีขาวที่ออกมาจากด้านหลังและเคลื่อนไหวสอดประสานอย่างเป็นธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงการผนวกและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร

มาซาฮิโกะ อินามิ และทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างอุปกรณ์สวมใส่ที่มีหลายแขนและสามารถถอดเปลี่ยนได้ เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใช้แขนหุ่นยนต์นี้หลายๆ คน

อุปกรณ์นี้มีชื่อว่า “จิไซอาร์มส (自在肢)” ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า แขนที่เป็นอิสระ ประกอบด้วยตัวฐานที่สวมใส่ได้ และช่องสำหรับใส่แขนได้สูงสุด 6 แขน ซึ่งสามารถออกแบบให้มีรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น แขนที่มีมือเหมือนคน หรือแขนที่เป็นมือคีบสามขา โดยในอนาคต อาจติดอะไหล่อื่นๆ เช่น ปีก หรือโดรนก็ได้

ในตอนนี้ จิไซอาร์มส สามารถควบคุมได้จากระยะไกล โดยในการสาธิตนี้ สมาชิกในทีมของอินามิ 2 คน ได้แยกกันควบคุมแขนแต่ละข้างให้สอดคล้องกันกับการเคลื่อนไหวของนักเต้น

แรงบรรดาใจในการสร้าง

โปรเจกต์นี้ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจาก “บุนราคุ” ซึ่งเป็นการแสดงละครหุ่นเชิดพื้นเมืองของญี่ปุ่น และเรื่องสั้นกึ่งสยองขวัญของยาสุนาริ คาวาบาตะ นักเขียนนิยายญี่ปุ่นเจ้าของรางวัลโนเบล เกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ยืมแขนหญิงสาวมา โดยอินามิต้องการศึกษาว่าเทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร

อินามิหวังว่า แขนหุ่นยนต์นี้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่การค้นหากู้ภัยหลังเกิดภัยพิบัติ ไปจนถึงการแสดงศิลปะรูปแบบใหม่ๆ เหมือนอย่างที่นักเต้นคนนี้ได้สาธิตให้เห็น

บุนราคุ

ประวัติละครหุ่นเชิดบุนราคุ

บุนราคุ (文楽 / Bunraku) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ที่โรงละครบุนราคุแห่งชาติ (国立文楽劇場 / National Bunraku Theater) และในโรงละครอื่นๆ เป็นละครหุ่นกระบอกแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ถูกตัดสินรูปแบบตั้งแต่ในช่วงสมัยเอโดะ ศิลปะของการเล่าเรื่องด้วยตุ๊กตาที่สวมชุดกิโมโนซึ่งเชิดประกอบดนตรีนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกในปี 2009 ในบทความนี้เราจะแนะนำบุนราคุในลักษณะที่เข้าใจง่าย

ละครหุ่นเชิดบุนราคุที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ เป็นการเชิดหุ่นขับลำนำซึ่งเรียกว่า นินเกียวโจรูริ ประเภทหนึ่ง หรือการเล่าเรื่องด้วยการเชิดหุ่นพร้อมกับการเล่นพิณสามสายชามิเซ็น เริ่มต้นในศตวรรษที่ 17 เมื่อ ทาเกะโมโตะ กิดายู นักขับลำนำที่มีชื่อเสียง ซึ่งผนวกการขับลำนำที่เรียกว่าโจรูริ แบบปกติกับหุ่นเชิดเข้าด้วยกัน กิดายูบูชิ นั้น เป็นการขับลำนำโจรูริประเภทหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจาก ทาเกะโมโตะ กิดายู และมีความโดเด่นด้วยสไตล์การร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมกับเสียงพิณชามีเซ็น นินเกียวโจรุริซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าคาบูกิอยู่ช่วงหนึ่งนั้น มีคณะละครต่างๆ ที่พบกับช่วงขึ้นและลงของความนิยมมากมาย และในตอนท้ายของสมัยเอโดะ คณะอุเอะมูระบุนราคุเคนได้กลายเป็นหนึ่งในคณะที่โดดเด่นที่สุด ดังนั้น ละครหุ่นเชิดบุนราคุจึงกลายเป็นคำพ้องกับคำว่านินเกียวโจรุริ หลังจากพบกับช่วงรุ่งเรืองและช่วงตกต่ำ ปัจจุบันบุนราคุได้ก่อร่างสร้างตัวเองให้เป็นศิลปะการแสดงระดับโลก

ละครหุ่นเชิดที่รวมเอาสามสิ่งเข้าด้วยกัน

บุนราคุเป็นการแสดงที่ประกอบโดยกลุ่มคนสามส่วน อันได้แก่ ทายู (太夫 / Tayu นักขับลำนำ นักขำกลอน) ชามิเซ็น (三味線 / Shamisen พิณสามสายแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น) และ นินเกียวสึไค (人形遣い / Ningyo-Tsukai นักเชิดหุ่น)

ทายูซึ่งเป็นหนึ่งในนั้นก็มีหน้าที่ที่จะพากษ์เสียงเล่าเรื่องราวของบททุกบทที่ปรากฏในเรื่องราวตามเพลงกิดายูบุชิ เมื่อทายูเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของเรื่องราวและอารมณ์ของตัวละครทุกเพศทุกวัยก็จะถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าจับใจ ชามิเซนก็จะแสดงอารมณ์และบรรยากาศของเรื่องราวเสริมไปพร้อมกับทายู โดยทั่วไปแล้วจะใช้ชามิเซนที่มีคอหนากว่าปกติซึ่งให้เสียงที่ลึกและหนักแน่นที่วางอารมณ์ให้กับฉากและแสดงออกถึงความรู้สึกของตัวละคร

และผู้ที่ทำหน้าที่เชิดหุ่นก็คือ นักเชิดหุ่น “โอโมสึไค” เป็นผู้เชิดหุ่นหลักที่คอยเชิดส่วนมือขวากับศีรษะ และยังให้สัญญาณกับ “ฮิดาริสึไค” ซึ่งจะคอยเชิดส่วนมือซ้ายและ “อาชิสึไค” ซึ่งเชิดส่วนขาเพื่อเชิดหุ่นให้พร้อมเพรียงกันโดยรวม เทคนิคนี้ทำให้หุ่นเชิดเคลื่อนราวกับว่ามีชีวิตขึ้นมาจริงๆ

หุ่นเชิดนั้นสามารถแยกออกเป็นส่วนต่างๆ อันได้แก่ ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เครื่องแต่งกาย และวิกผม ดังนั้นจึงสามารถให้หุ่นตัวเดียวแสดงบทบาทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้เพียงแค่แต่งหน้าใหม่ รวมถึงเปลี่ยนชุดใหม่ไปตามบทบาท กิโมโนในเครื่องแต่งกายหุ่นจะมีรูที่ด้านหลังและนักเชิดหุ่นสามารถสอดมือเข้าไปในรูนี้และทำการเชิดหุ่นได้ บุนราคุนั้นมีความโดดเด่นจากวิธีการต่างๆ ที่ใช้เพื่อทำให้หุ่นเชิดดูสมจริงราวกับมีชีวิต

ละครในบุนราคุส่วนใหญ่แต่งขึ้นในสมัยเอโดะ ละครแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ละครที่แสดงถึงเรื่องราวในช่วงเวลาตั้งแต่สมัยนาระถึงสมัยเซ็งโกคุ และละครที่แสดงถึงเรื่องราวในช่วงเวลาเดียวกันกับตอนที่ละครถูกแต่งค่ะ ผลงานชิ้นเอกที่สำคัญสามชิ้น ได้แก่ “สุกาวาระเด็นจุเตะนาราอิคากามิ” “โยชิตสึเนะเซ็มบงซากุะ” และ “คานาเดะฮอนโจชินกุระ” (仮名手本忠臣蔵 / Kanade Honchu Shingura) การแสดงหลักของละครหุ่นเชิด “บุนราคุ” ซึ่งสามารถไปชมได้ที่โรงละครบุนราคุแห่งชาติ

โรงละครแห่งชาติบุนราคุ (National Bunraku theater)

ตั้งอยู่ที่เมืองโอซาก้า (Osaka) นับได้ว่าเป็แหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดต่อๆ กันมาแบบใกล้ชิด โดยโรงละครแห่งชาติบุนราคุ ในโอซาก้าถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

ในการจัดแสดงศิลปะแบบดั้งเดิมที่นับว่ายิ่งจะเลือนหายไป ซึ่งที่นี่นั้นจะมีการจัดโชว์หุ่นละครญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่มีมายาวนานหลายศตวรรษ ความนิยมการชมการแสดงนั่นเริ่มต้นขึ้นในสมัยเอโดะ เช่น ละครคาบุกิ (Kabuki) ซึ่งสมัยนั้นสำหรับประชาชนแล้วเป็นการแสดงศิลปะที่หาชมได้ยาก ที่สำคัญนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นหมดกังวลได้ เพราะมีบริการอุปกรณ์หูฟังที่มีโปรแกรมภาษาอังกฤษไว้คอยอำนวยความสะดวกแบบครบครัน ถ้าสนใจอยากชมก็ต้องวางแผนการมา เพราะไม่ได้มีการแสดงทุกวันแต่จะมีการแสดงจะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม เมษายน มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน

บุนราคุ

ปรมาจารย์ชาวญี่ปุ่นสืบสานประเพณีบุนราคุ

เมื่อต้องอยู่ที่บ้านเป็นเวลาหลายสัปดาห์ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ภาวะฉุกเฉินเนื่องจากไวรัสโคโรนา นายคันจูโร่ คิริทาเกะ นักเชิดหุ่นบุน รากุชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียง ต้องประสบกับความวิตกกังวลอย่างหนัก

โรงละครหุ่นเชิดญี่ปุ่นดั้งเดิมสำหรับผู้ชาย ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของนายคันจูโร่ ถือกำเนิดขึ้นในโอซาก้าในช่วงปลายทศวรรษ 1600 (พ.ศ. 2143-2152) แต่ใน พ.ศ. 2563 กลับรู้สึกเหมือนถูกคุมคามความอยู่รอด นายคันจุโร่กล่าว การแสดงทั้งหมดของนายคันจูโร่ถูกยกเลิกเป็นเวลานานหลายเดือน

“มีหลายอย่างที่ผ่านเข้ามาในความคิดของผม การระบาดใหญ่นี้จะจบลงเมื่อใด? จะกลับมาทำการแสดงต่อได้เมื่อไหร่?” นายคันจูโร่ วัย 67 ปี กล่าวในขณะอยู่ที่บ้านของตน ซึ่งมีห้องสำหรับหุ่นเชิดโดยเฉพาะ นายคันจูโร่ยังสงสัยด้วยว่าอาจารย์วัย 87 ปีของตนจะมีโอกาสได้ทำการแสดงอีกครั้งหรือไม่

ทางออกของนายคันจูโร่คือการใช้เวลาอยู่ที่บ้านและทำหุ่นเชิดให้กับ เด็กๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเชิดหุ่นบุนราคุไม่ได้มีโอกาสทำบ่อยนัก สำหรับนายคันจูโร่แล้ว นี่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับงานที่เขาทำมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ นายคันจูโร่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปูชนียบุคคลสำหรับการแสดงละครหุ่นเชิดแบบดั้งเดิมโดยรัฐบาลญี่ปุ่น

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกือบ 30 คนเข้าร่วมในชั้นเรียนล่าสุด โดยเด็กๆ ได้ฝึกเชิดหุ่นของตนเองในโรงพละท่ามกลางอากาศร้อนระอุ ขณะที่นายคันจุโร่สวมใส่เสื้อยืดและทำการสอนเด็กๆ

ในบุนราคุ หุ่นเชิดแต่ละตัวต้องใช้นักเชิดถึงสามคน โดยมีผู้เชิดหลักหนึ่งคนและผู้เชิดอื่นๆ อีกสองคน ซึ่งทั้งหมดจะแต่งกายในชุดสีดำและปิดบังใบหน้าของตน ผู้เชิดหลักจะเชิดส่วนศีรษะและแขนขวา ในขณะที่ผู้เชิดคนหนึ่งเชิดแขนซ้ายและอีกคนหนึ่งเชิดเท้าทั้งสองข้าง การแสดงจะประกอบด้วยผู้บรรยาย หรือทายุ และเครื่องดนตรีพื้นเมือง หุ่นเชิดทั้งห้าตัวที่นายคันจุโร่ทำขึ้นมีหน้าแบบการ์ตูนและเส้นผมที่ทำจากเส้นด้าย นอกจากนี้ หุ่นเหล่านั้นยังสวมถุงเท้าสีฉูดฉาดที่นายคันจุโร่ซื้อทางออนไลน์

นายคันจูโร่เริ่มต้นเส้นทางอาชีพในฐานะนักเชิดหุ่นตามรอยบิดาของตนขณะที่มีอายุ 14 ปี โดยเป็นลูกศิษย์ของนายมิโนสุเกะ โยชิดะ ปัจจุบันอายุ 87 ปี และเป็นนักเชิดหุ่นที่มีอายุมากที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกับทุกคน นายคันจูโร่เริ่มต้นจากการเชิดเท้าทั้งสองข้าง จากนั้นจึงได้ย้ายไปเชิดแขนซ้ายของหุ่นเชิด นักเชิดหุ่นอาจต้องใช้เวลามากกว่า 30 ปีกว่าที่จะได้รับอนุญาตให้เชิดหัวของหุ่นเชิด “นี่เป็นบทบาทที่ยากลำบากและไม่มีใครเห็นความสำคัญ” นายคันจูโร่กล่าวถึงการเชิดแขนและขาของหุ่น “ผู้ชมต่างไม่รู้จักว่าคุณเป็นใคร และเสียงปรบมือก็มอบให้เพียงนักเชิดหลักเท่านั้น”

การทำความเข้าใจวิธีการเชิดเท้านั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ทำการเชิดเท้าจะต้องจับเอวของนักเชิดหลักไปด้วยเพื่อสัมผัสถึงวิธีการเคลื่อนไหว นี่เป็นสิ่งที่นายคันจูโร่เรียนรู้มาจากบิดาผู้ล่วงลับของตนที่แม้จะเจ็บป่วยจนร่างกายซูบผอม แต่บิดาของเขาก็ยังทุ่มเททั้งร่างกายในการเชิดหุ่นในฐานะนักเชิดหลัก

“ผมเรียนรู้จากพ่อว่านักเชิดหุ่นต้องใช้ทั้งร่างกายของตนตั้งแต่นิ้วเท้าจนถึงปลายนิ้วมือเพื่อทำให้หุ่นเชิดมีชีวิต” นายคันจูโร่นึกย้อนถึงอดีต “และวิธีการที่นักเชิดหุ่นที่มีขนาดตัวที่เล็กและผอมบางสามารถเชิดหุ่นที่ตัวใหญ่ได้โดยการทำเช่นนั้น”

นายคันจูโร่เป็นหนึ่งในนักแสดงหุ่นเชิดบุนราคุซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดของญี่ปุ่น แต่เขายังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการเฟ้นหาผู้มีความสามารถรุ่นเยาว์

โรงละครบุนราคุแห่งชาติในโอซาก้าเปิดสอนหลักสูตรฝึกอบรมฟรี 2 ปี โดยนักเชิดหุ่นมากกว่าครึ่งหนึ่งจากจำนวน 83 คนในปัจจุบันจบการศึกษาจากโรงละครแห่งนี้ ความนิยมของศิลปะนี้เริ่มลดลงแม้ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด และมีนักเรียนเพียงสองคนที่เข้ารับการฝึกอบรมในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563

นายคันจูโร่พิจารณาว่า ไม่แน่ว่าบุคคลที่ว่าจ้างให้ทำการแสดงหรือยื่นทรัพย์สินให้บนเวทีอาจตกหลุมรักและอยากที่จะศึกษาเกี่ยวกับหุ่นบุนราคุก็เป็นได้ การแสดงต่างๆ ในกรุงโตเกียวเริ่มกลับมาทำการแสดงอีกครั้งในเดือนกันยายน

“เช่นเดียวกับซูโม่และรากูโกะที่มีนักแสดงชาวต่างชาติ ในวันหนึ่ง เราก็อาจจะมีนักแสดงชาวต่างชาติเช่นกัน” นายคันจูโร่กล่าวโดยอ้างถึงมวยปล้ำและการเล่าเรื่องในแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น “และไม่ช้าก็เร็วผู้หญิงก็จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน”

 

เรื่องรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่  brighidsfirebooks.com

สนับสนุนโดย  ufabet369