ฮีทสโตรก 2

อากาศในประเทศไทยไม่ว่าฤดูกาลไหน ปฎิเสธไม่ได้ว่ามักเจออากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งโรคยอดฮิตที่คนพาสัตว์เลี้ยงมารักษากันเยอะมากก็คือ “ ฮีทสโตรก ” (Heat Stroke) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “โรคลมแดด” ยิ่งอยู่ในประเทศไทยที่แดดแรงจนตาจะทะลุด้วยเนี่ย ขนาดคนอย่างเรายังร้อนแทบจะทนไม่ไหวต้องหาอะไรมาช่วยคลายร้อน สัตว์เลี้ยงของเราก็ร้อนได้เหมือนกันเพียงแต่เขาบ่นไม่ได้ แล้วถ้าเกิดเขาป่วยเป็นโรคลมแดดขึ้นมาบางทีอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะ! วันนี้เราเลยพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคลมแดดเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดกับสัตว์เลี้ยงของเรา

โรค ฮีทสโตรก คืออะไร?

“โรคลมแดด” (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ แถมโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกชนิดโดยเฉพาะน้องหมา น้องแมว เพราะปกติสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลัก หากร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันก็จะเกิดภาวะโรคลมแดดขึ้น

อาการโรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและพบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ที่ขนยาว ขนหนา และพันธุ์หน้าสั้น แถมอาการนี้ยังเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผล คือ สภาพอากาศร้อนชื้น การอยู่ในพื้นที่อบอ้าวอากาศถ่ายเทไม่ดี เมื่อร่างกายของสัตว์ได้รับความร้อนมากเกินไปจะทำให้เขาเกิดความเครียด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่หมุนเวียนในร่างกายลดลงจนความดันเลือดต่ำ หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง การระบายความร้อนที่ต้องอาศัยเลือดเป็นสื่อกลางเกิดความบกพร่อง ความร้อนจึงสะสมอยู่ในร่างกายจนก่อให้เกิดภาวะโรคลมแดด (Heat Stroke) ตามมา ไม่ว่าจะเป็นน้องหมา น้องแมว กระต่าย หรือสัตว์ต่าง ๆ หากอาการรุนแรงสัตว์เหล่านี้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ ฮีทสโตรก

  1. การปล่อยสุนัขวิ่งเล่นในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้นเป็นเวลานาน
  2. สุนัขที่ถูกขังในบริเวณที่อากาศไม่ไหลเวียน ตากแดด ไม่มีน้ำดื่มเพียงพอ
  3. การถูกเป่าขนด้วยไดร์เป่าขนความร้อนสูง

ฮีทสโตรก 1

อาการของโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

1.อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์

2.มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ

3.หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ

4.น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก

5.เหงือกสีแดงเข้ม

6.มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

วิธีการปฐมพยาบาลโรคฮีทสโตรก ในสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคลมแดด สิ่งสำคัญคือการทำให้อุณหภูมิร่างกายของสัตว์ลดลงแต่อย่าให้ลดลงเร็วจนเกินไป โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

1.ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด ให้นำน้องมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกทันที จากนั้นถอดเสื้อผ้าหรือปลอกคอที่ทำให้สัตว์อึดอัดออก

2.ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว รวมถึงเช็ดใต้ฝ่าเท้า รักแร้ และขาหนีบ เพื่อช่วยระบายความร้อนควรใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำที่อุ่นเกินไป เพราะสัตว์อาจเกิดภาวะช็อคได้

3.นวดบริเวณขาเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด และห้ามให้ยาโดยไม่ได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เด็ดขาด

วิธีป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

อาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) มักเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นสูง เจ้าของต้องคอยสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตนเองบ่อยๆ เวลาเขาวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย หากสุนัขดูหอบมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของโรคลมแดด ควรหลีกเลี่ยงการให้สัตว์เลี้ยงไปอยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี และวางน้ำไว้ให้สัตว์ได้กินตลอดเวลา อาจจะเพิ่มน้ำแข็งสักก้อนให้เขาได้เลียคลายความร้อน

โรคลมแดดเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับสัตว์เลี้ยงมาก ๆ มนุษย์อย่างเราอย่ามัวแต่ห่วงโควิดจนละเลยอาการโรคลมแดดในน้องสัตว์กันนะ เพราะประเทศไทยอากาศร้อนตลอดเวลา โรคลมแดดเลยมีโอกาสเกิดขึ้นกับน้องสัตว์ได้เสมอ ดังนั้นเจ้าของควรใส่ใจและสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์ที่เราเลี้ยงควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วพามาพบสัตว์แพทย์ทันที


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สก๊อตทิช โฟล์ด [Scottish fold] แมวหูพับ

ร็อตไวเลอร์ ร็อตไวเลอร์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่มีต้นกำเนิดจากเยอรมนี

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.brighidsfirebooks.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา www.talingchanpet.net